วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อดี ข้อเสีย ของเพาเวอร์ซัพพลาย


เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีเป็นอย่างไร
  1. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีความสามารถในการจ่ายไฟเต็ม maximum load ตามสติกเกอร์ที่ติดข้าง เพาเวอร์ซัพพลาย ที่เรียกว่า วัตต์แท้ หรือ วัตต์เต็ม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกมักติดสติกเกอร์เกินจำนวนวัตต์จริง เพราะผู้ใช้ไม่มีเครื่องมือวัดวัตต์ที่แท้จริง
  2. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน ไฟกระชาก โดยเสปกต้องระบุว่ามีคุณสมบัติ Over Voltage Protection (OVP) และ Over Current Protection (OCP)
  3. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีต้องจ่ายไฟอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PFC (Power Factor Correction)
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น มีพัดลมขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน (Heat sink) ที่ใหญ่กว่า
เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีดูที่ตรงไหน
  1. รูปลักษณ์ภายนอก ควรเป็นกล่องที่ทำจากเหล็กที่มีความหนาพอสมควร และเคลือบด้วยสารกันสนิม เพาเวอร์ซัพพลายราคาถูกจะประหยัดต้นทุนในส่วนนี้จึงใช้แผ่นโลหะที่บางกว่า
  2. น้ำหนักดี เพราะ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่วัตต์เต็มจะใช้ขดลวดทองแดงมากกว่า นอกนี้ครีบระบายความร้อนก็จะมีขนาดหรือพื้นที่กว้างกว่า ทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีมีน้ำหนักมากกว่า
  3. ป้ายสติกเกอร์ ที่ติดข้างกล่องจะต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น UL, FCC, Nemko (N), Semko (S), Demko (D) เป็นต้น
  4. ผลิตจากโรงงานที่เชื่อถือได้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิต เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนมาก บางโรงงานจะเน้นการขายราคาถูกจึงลดคุณภาพวัตถุดิบ
เพาเวอร์ซัพพลาย ดีมีประโยชน์อย่างไร
  1. ประหยัดเงินในระยะยาว เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูก จะให้วัตต์ต่ำ หรือต่ำกว่าสติกเกอร์ที่ติด เมื่อเราจะเพิ่มอุปกรณ์ในภายหลัง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง, ดีวีดี, เปลี่ยนวีจีเอที่ดีกว่าเดิม เราอาจต้องเปลี่ยน เพาเวอร์ซัพพลาย ด้วย หากมันจ่ายไฟได้ไม่พอ
  2. คอมพิวเตอร์มีความเสถียร แม้ในยามที่มี ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือสัญญาณรบกวนของมอเตอร์ จากเครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า โดยไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ดับ หรือถูกสัญญาณรบกวน
  3. ยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพต่ำสามารถทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสื่อมคุณภาพเร็วกกว่าที่ควร เนื่องจากการจ่ายไฟไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายไฟด้วยแรงดัน (volt) ที่สูงกว่าอุปกรณ์จะรับได้
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย มีอายุการใช้งานมากกว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟเกินกว่าที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จะจ่ายได้ อาจทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องได้ หรือทำให้เครื่องค้าง หรือขึ้นหน้าจอสีฟ้า แต่ถ้าใช้ไฟในระดับที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จ่ายไฟสูงสุดได้เป็นเวลานาน ๆ ต่อเนื่องกัน ก็อาจทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย ไหม้ หรือระเบิดได้เหมือนกัน ดังนั้นหากต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนวัตต์เท่าใดสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็ควรมั่นใจว่าได้วัตต์เต็มจำนวนจริง ๆ

ส่วนข้อดีข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย 300w
             ข้อดี
                 1. กินไฟน้อย
                 2. ใช้กับคอมพิวเตอร์สเปกธรรมดาทั่วไปได้
              ข้อเสีย
                  1. พ่วงอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ได้น้อย
                  2.กระแสออกน้อยกว่า 450w
                  3.เมื่อซัพพลายทำงานหนักซัพพลายจะร้อนมากอาจทำให้อุปกรณ์เสียได้
                  4.อุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟฟคงที่อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้เพราะกระแสไฟไม่พอจ่าย

ส่วนข้อดีข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย 450w
             ข้อดี
                 1. ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้
                 2. สามารถพ่วงอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ได้มากพอสมควร
                 3.ราคาใกล้เคียงกับเพาเวอร์ซัพพลาย 300w
                 4.อุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟคงที่ก็จะเสียหายน้อยเพราะกระแสมากพอสมควร
              ข้อเสีย
                  1.กินไฟเยอะกว่า 300w
                  2.ซัพพลายทำงานได้ดีกว่า 300w
                  
ข้อแตกต่าง 300w และ 450w ของ ฮาร์ดแวร์
          300w.
                1.เครื่องทำงานได้ไม่ค่อยเต็มที่เท่ารั่ยถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ
                2.ถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะแล้วไม่ทำการเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายให้มีกำลังวัตต์มากเมื่อใช้ไปนานๆก็อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเสียหานได้
          450w
                1.เครื่องทำงานได้เต็มที่เพราะมีกระแสไฟเพียงพอ
                2. ช่วงลดความเสียหายของอุปกรณ์บางชนิดได้
                


ข้อแตกต่าง 300w และ 450w ของ ซอฟต์แวร์
          300w.
                1.เวลาออกแบบงานกราฟฟิกอาจทำให้คอมเราค้างได้เพราะกระแแสไฟไม่เพียงพอ
                2.อาจทำงานล่าช้าเพราะคอมช้า
          450w
                1.เวลาออกแแบงานกราฟฟอกหรือโปรแกรมที่ใช้สเปกคอมเยอะๆ อาจทำงานได้ลื่น
                2.ช่วยลดเวลาในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น